เป็นเครื่องดื่มที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน
และเปี่ยมไปด้วยเรื่องราวที่น่าสนใจตั้งแต่ต้นกำเนิดใน แอฟริกาสู่ความนิยมทั่วโลก และเดินทางมาสู่ประเทศไทย กาแฟจึงไม่ได้เป็นเพียงเครื่องดื่ม แต่ยังสะท้อนวัฒนธรรม การค้าและวิถีชีวิตของคนในแต่ละยุคสมัย
กาแฟถูกค้นพบในเอธิโอเปียราว 850 ปีก่อนคริสต์ศักราช ตำนานเล่าว่าคนเลี้ยงแพะพบว่าสัตว์เลี้ยงของเขา กระปรี้กระเปร่าผิดปกติหลังกินผลกาแฟ คำว่า Coffee มาจากภาษาอาหรับ Qahweh (ไวน์) ก่อนเปลี่ยนเป็น Kawha , Kaffe และ Coffee ในที่สุด
ศตวรรษที่ 9 กาแฟเป็นที่รู้จักในตะวันออกกลาง โดยชาวอาหรับเริ่มปลูกเป็นการค้าในศตวรรษที่ 14 และแพร่หลายในศตวรรษที่ 15 กาแฟเดินทางสู่ยุโรปในศตวรรษที่ 17 ผ่านอาณาจักรออตโตมัน กลายเป็นเครื่องดื่มกระตุ้นพลังและเครื่องดื่มในวงสนทนา ก่อนแพร่กระจายสู่อเมริกา
ลาตินอเมริกา เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญระดับโลก
มีบันทึกว่าไทยปลูกกาแฟตั้งแต่สมัยอยุธยา (พ.ศ. 2229) แต่แพร่หลายจริงในสมัยรัชกาลที่ 3 พ.ศ. 2367 อีกทั้งพระองค์ทรงเล็งเห็นศักยภาพทางเศรษฐกิจจึงรับสั่งให้เพาะปลูกในบางกอกและขยายสู่จันทบุรี (พ.ศ. 2393) เพราะภูมิอากาศและภูมิประเทศเหมาะสม เกิดเป็น "กาแฟจันทบูร" อะราบิกาคุณภาพดี
พ.ศ. 2413 การค้ากับต่างชาติทำให้วัฒนธรรมการดื่มกาแฟแพร่หลายในหมู่คนไทย มีร้านกาแฟแห่งแรกในบางกอกและนำเข้าเมล็ดจากบราซิล โคลอมเบีย และบาหลี ก่อนมีการริเริ่มคั่วกาแฟเอง
กาแฟโรบัสตาเข้าสู่ไทยเมื่อพ่อค้าชาวดัชต์นำเข้ามาแลกเปลี่ยน และในพ.ศ. 2447 นายดีหมุน ชาวมุสลิมที่กลับจากแสวงบุญเมกะ ได้นำเมล็ดโรบัสตาจากซาอุดีอาระเบียมาปลูกที่สงขลา และขยายสู่ภาคใต้ สายพันธุ์นี้เหมาะกับภาคใต้เพราะทนร้อนชื้น ต้านทานโรคดี และให้ผลผลิตสูง
พ.ศ. 2517 รัชกาลที่ 9 ทรงส่งเสริมให้เกษตรกรบนพื้นที่สูงทางภาคเหนือปลูกกาแฟอะราบิกาทดแทนฝิ่น ผ่านโครงการหลวง ส่งผลให้พื้นที่เช่นดอยตุง ดอยอินทนนท์ และดอยช้าง กลายเป็นแหล่งผลิตกาแฟอะราบิกาคุณภาพดีของไทยจนถึงปัจจุบัน
ปัจจุบันกาแฟไทยได้ก้าวสู่ตลาด Specialty Coffee ที่เน้นเอกลักษณ์ของแหล่งปลูก และความพิถีพิถันในกระบวนการผลิต โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือ เช่น เชียงราย น่าน และแม่ฮ่องสอน ที่ได้รับความสนใจจากผู้บริโภคทั่วประเทศ
วงจร
ต้นกาแฟ
กาแฟ
ไม่ได้พร้อมดื่มเพียงชั่วข้ามคืน
แต่ต้องผ่านกระบวนการเติบโต
ที่ยาวนาน จากเมล็ดเล็ก ๆ
เป็นต้นกาแฟ ออกดอก และให้ผล
1
ระยะเพาะเมล็ด

ช่วงเริ่มต้นที่เมล็ดกาแฟถูกเพาะลงในกระบะเพาะจนเริ่มงอก ประมาณ 30-45 วัน

2
ระยะหัวไม้ขีด

ต้นกล้าเริ่มงอกออกมาคล้ายหัวไม้ขีด โดยมีรากแรกเริ่มและใบเลี้ยงยังไม่คลี่ออก

3
ระยะปีกผีเสื้อ

ใบเลี้ยงคลี่ออกเป็นรูปคล้ายปีกผีเสื้อ เพื่อเตรียมรับแสงและเจริญเติบโตต่อไป ระยะนี้จะย้ายลงถุงเพาะ

4
ระยะต้นกล้า

เริ่มมีใบจริง 4-6 คู่ และมีความสูงประมาณ 15-20 เซนติเมตร พร้อมสำหรับการย้ายปลูกลงดิน

5
ระยะเจริญเติบโต

ต้นกาแฟเติบโตทั้งลำต้น ใบ และระบบราก พัฒนาจนถึงวัยที่สามารถออกดอกและให้ผลผลิตได้

6
ระยะออกดอก

การออกดอกมักเกิดหลังจากได้รับน้ำฝนหรือการรดน้ำครั้งแรก ดอกกาแฟมีสีขาวและกลิ่นหอมอ่อนๆ

7
ระยะให้ผล

ผลกาแฟจะเปลี่ยนสีจากเขียวเป็นเหลือง และเป็นสีแดงเมื่อสุกเต็มที่
- กาแฟอะราบิกา: ใช้เวลาประมาณ 9 เดือน
- กาแฟโรบัสตา: ใช้เวลาประมาณ 6-8 เดือน

8
ระยะเก็บเกี่ยว

ผลกาแฟสุกเต็มที่พร้อมเก็บเกี่ยว

ระยะต้นกล้า

เริ่มมีใบจริง 4-6 คู่ และมีความสูงประมาณ 15-20 เซนติเมตร พร้อมสำหรับการย้ายปลูกลงดิน

ระยะเจริญเติบโต

ต้นกาแฟเติบโตทั้งลำต้น ใบ และระบบราก พัฒนาจนถึงวัยที่สามารถออกดอกและให้ผลผลิตได้

ระยะออกดอก

การออกดอกมักเกิดหลังจากได้รับน้ำฝนหรือการรดน้ำครั้งแรก ดอกกาแฟมีสีขาวและกลิ่นหอมอ่อนๆ

ระยะให้ผล

ผลกาแฟจะเปลี่ยนสีจากเขียวเป็นเหลือง และเป็นสีแดงเมื่อสุกเต็มที่
- กาแฟอะราบิกา: ใช้เวลาประมาณ 9 เดือน
- กาแฟโรบัสตา: ใช้เวลาประมาณ 6-8 เดือน

ระยะเก็บเกี่ยว

ผลกาแฟสุกเต็มที่พร้อมเก็บเกี่ยว

ระยะเพาะเมล็ด

ช่วงเริ่มต้นที่เมล็ดกาแฟถูกเพาะลงในกระบะเพาะจนเริ่มงอก ประมาณ 30-45 วัน

ระยะหัวไม้ขีด

ต้นกล้าเริ่มงอกออกมาคล้ายหัวไม้ขีด โดยมีรากแรกเริ่มและใบเลี้ยงยังไม่คลี่ออก

ระยะปีกผีเสื้อ

ใบเลี้ยงคลี่ออกเป็นรูปคล้ายปีกผีเสื้อ เพื่อเตรียมรับแสงและเจริญเติบโตต่อไป ระยะนี้จะย้ายลงถุงเพาะ

เมื่อผลกาแฟพัฒนาเต็มที่
จะมีลักษณะคล้ายผลเชอร์รี่ สีแดงสด
มีโครงสร้างภายในที่ซับซ้อน
1
Silver skin

เยื่อหุ้มเมล็ดกาแฟ ทำหน้าที่ปกป้องเมล็ดที่ด้านใน

2
Parchment

กะลากาแฟ ทำหน้าที่ปกป้องเมล็ดที่ด้านใน

3
Mucilage

เมือกกาแฟ มีรสหวาน

4
Outer skin

เปลือกผลเชอร์รี่กาแฟ (สุกแล้วจะมีสีแดง)

5
Green coffee bean

เอนโดสเปิร์ม เมล็ดกาแฟสีเขียว ที่อยู่ด้านในสุด

6
Pulp

เยื่อหุ้มผลเชอร์รี่ด้านใน กักเก็บน้ำ และน้ำตาล

ส่วนที่นำมาใช้ผลิตเป็นกาแฟคือเมล็ดด้านในเมล็ดเหล่านี้
จะถูกนำไปผ่านกระบวนการแปรรูป คั่ว และบด
ก่อนนำมาชงเป็นเครื่องดื่มกาแฟที่เราคุ้นเคย
เก็บเกี่ยว
ล้างทำความสะอาด
สีเอาเนื้อผลออกและลอกเมือก
หมัก
ล้างด้วยน้ำสะอาด
ผลที่ลอยน้ำ (ผลลีบและผลอ่อน)
ตากแดด
บรรจุในถุงตาข่ายและเก็บรักษา
สีกะลา
สีกะลา
บรรจุในถุงตาข่ายและเก็บรักษา
ตากแดด
คัดแยกผลเชอร์รี่ ผลที่ลอยน้ำ(ผลลีบและผลอ่อน)
ซึ่งมีสีเขียวอมเทาที่ได้จากผลกาแฟสุก (Cherry)
มาผ่านความร้อนในภาชนะหรือเครื่องคั่ว
โดยใช้ระยะเวลาและอุณหภูมิของความร้อน
ที่แตกต่าง จนเมล็ดเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อนถึงน้ำตาลดำ และมีกลิ่นหอม
ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญที่ส่งผลต่อรสชาติ กลิ่น
และความเข้มข้นของกาแฟ
ระดับการคั่วเมล็ดกาแฟสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายระดับ
แต่โดยทั่วไปแล้วจะแบ่งออกเป็น 3 ระดับหลัก ๆ
ซึ่งแต่ละสายพันธุ์มีลักษณะเฉพาะและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ในการเพาะปลูกแตกต่างกัน
กาแฟอะราบิกา
ลักษณะเมล็ด
เส้นแบ่งเป็นรูปตัว S
พื้นที่ปลูก
700 – 1200 เมตร จากระดับน้ำทะเล
ปริมาณน้ำฝน
1,500 - 2,000 มิลลิเมตร
น้ำตาล
สูง
คาเฟอีน
ต่ำ (0.8-1.4%)
รสชาติ และกลิ่น
หอม ละมุน รสนุ่ม
 
ลักษณะเมล็ด
พื้นที่ปลูก
ปริมาณน้ำฝน
น้ำตาล
คาเฟอีน
รสชาติ และกลิ่น
กาแฟโรบัสตา
ลักษณะเมล็ด
เส้นแบ่งค่อนข้างตรง
พื้นที่ปลูก
0-700 เมตร จากระดับน้ำทะเล
ปริมาณน้ำฝน
1,800 – 3,000 มิลลิเมตร
น้ำตาล
ต่ำ
คาเฟอีน
สูง (1.7-4%)
รสชาติ และกลิ่น
เข้ม
ด้วยความหลากหลายทางภูมิประเทศของไทย ตั้งแต่พื้นที่ราบภาคใต้ไปจนถึงดอยสูงภาคเหนือ ทำให้เราสามารถปลูกกาแฟได้ทั้งสองสายพันธุ์หลัก
พื้นที่ปลูกกาแฟในไทย

พื้นที่สูงในภาคเหนือเหมาะกับการปลูกอะราบิกา ขณะที่ภาคใต้มีความชื้นสูงจึงเหมาะกับการปลูกโรบัสตา จุดเด่นนี้ทำให้ไทยสามารถผลิตกาแฟได้หลากหลายและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว รวมทั้งภาคอื่น ๆ ก็ยังสามารถปลูกกาแฟเสริมเป็นพืชเศรษฐกิจได้

ในปี 2567 ผลผลิตกาแฟของไทยลดลงจากปี 2566 0.40% จาก 16,690 ตัน ในปี 2566 เป็น 16,623 ตัน ในปี 2567 เนื่องจากถึงแม้เนื้อที่ปลูกกาแฟสายพันธุ์อะราบิกาจะเพิ่มขึ้น แต่เนื้อที่ปลูกสายพันธุ์โรบัสตาลดลง โดยเฉพาะแหล่งผลิตสำคัญทางภาคใต้ ได้แก่ ชุมพร และระนอง

จังหวัดที่ปลูกกาแฟ
จังหวัดที่ปลูกกาแฟ และขึ้นทะเบียน GI
ปี 2566
ปี 2567
ปัจจุบัน คนไทยดื่มกาแฟกว่า 9 หมื่นตันต่อปี เฉลี่ยวันละ 1.5 แก้ว และในปี 2567 ความนิยมในการดื่มกาแฟของชาวไทยเพิ่มขึ้น มีกาแฟที่ใช้กรรมวิธีพิเศษในการแปรรูปเพื่อดึงกลิ่น รสชาติของกาแฟขึ้นมาให้โดดเด่นจนเป็นกาแฟพิเศษ
ความต้องการใช้เมล็ดกาแฟ (ตัน)
แม้ปริมาณผลผลิตจะน้อยมากเมื่อเทียบกับความต้องการของผู้บริโภค
การนำเข้ากาแฟ
ในขณะที่เราผลิตกาแฟได้ประมาณ 1.6 หมื่นตันในปี 2567 แต่ความต้องการบริโภคมากกว่า 9 หมื่นตัน จึงต้องนำเข้าทั้งเมล็ดกาแฟดิบ กาแฟสำเร็จรูป และกาแฟสำเร็จรูปผสมรวมกว่า 8 หมื่นตันต่อปี

ด้วยความต้องการบริโภคที่เพิ่มสูงขึ้น อย่างต่อเนื่องและพฤติกรรมผู้บริโภคที่หันมา นิยม Specialty Coffee มากขึ้น การส่งเสริม และสนับสนุนให้เกษตรกรปลูกกาแฟจึงเป็น โอกาสสำคัญ ทั้งการขยายพื้นที่เพาะปลูก การเพิ่มผลผลิตต่อไร่ และการพัฒนาคุณภาพ เมล็ดกาแฟให้ได้มาตรฐานระดับพรีเมียม โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีศักยภาพอย่างภาคเหนือ และภาคใต้ของประเทศไทย